5G use cases in Thai education

การเปลี่ยนแปลงของโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้เทคโนโลยีการศึกษาถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ในปี 2023 จึงเกิดเทรนด์การศึกษาใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI (Artificial Intelligence) หรือ VR/AR (Virtual Reality and Augmented Reality) มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันในไทยมีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในอุตสาหกรรมการศึกษา ดังนี้

  • Location-based systemsระบบระบุตำแหน่งรถโดยสารภายในสถาบันการศึกษา เราสามารถตรวจสอบตำแหน่งและเส้นทางการเดินรถผ่านแอปพลิเคชันได้แบบ real time เช่น CU Shuttle Bus ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
  • Smart Cards ใช้เทคโนโลยีIoT ในการควบคุมระบบ ถูกใช้งานในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย เนื่องจากบัตรอัจฉริยะสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ได้แก่
  1. บันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้เรียน และบันทึกข้อมูลสุขภาพ เช่น หมู่เลือด
  2. ใช้เพื่อเข้าถึงบริการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานศึกษา เช่น บริการห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์
  3. ใช้บันทึกเวลาเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมของสถาบันการศึกษา
  4. ใช้เป็นบัตรเดบิตเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการได้
  • Recognition หรือเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ส่วนใหญ่จะพบเจอได้ที่ประตูทางเข้าสถานศึกษา เพื่อป้องกันการเข้ามาของบุคคลแปลกหน้า ช่วยบันทึกเวลาการเข้าออกของนักเรียนและบุคลากรในแต่ละวัน สามารถเก็บเป็นฐานข้อมูลขององค์กรเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปได้
  • e-Testing หรือการทดสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เข้าสอบทำแบบทดสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และประเมินผลการทดสอบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำด้วยระบบ AI และเทคโนโลยี 5G ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับการสอบในช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19
  • Virtual Classroom หรือห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนการสอนผ่านการประชุมทางไกล (video conference) ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมในชั้นเรียนแบบ real time ได้จากทุกสถานที่ ดังนั้นรูปแบบการเรียน Virtual Classroom จึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน